แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564

ยุทธศาสตร์ที่ 1 บูรณาการคุณค่าและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพโดยการมีส่วนร่วมในทุกระดับ

1.2 แผนปฏิบัติการบูรณาการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมาย

ภายในปี พ.ศ. 2563 ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการผนวกไว้ในนโยบายหรือแผนที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

ภายในปี พ.ศ. 2563 มีกลไกทางการเงินในการขับเคลื่อนการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

ภายในปี พ.ศ. 2563 กฎระเบียบ ข้อกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการแก้ไข

ภายในปี พ.ศ. 2564 มีการขับเคลื่อนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพโดยการมีส่วนร่วมในทุกระดับ

ภายในปี พ.ศ. 2564 มีการดำเนินการเพื่อลดและขจัดแรงจูงใจที่มีผลร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมแรงจูงใจทางบวกที่สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัด

1 สัดส่วนของงบประมาณที่ได้รับเพื่อดำเนินการตามแผนต่องบประมาณทั้งประเทศเพิ่มขึ้น

2 จำนวนนโยบาย แผน และมาตรการระดับชาติ จังหวัด และท้องถิ่น ที่ผนวกประเด็นการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

3 มีกลไกทางการเงินที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

4 จำนวนกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการแก้ไข

5 มีกลไกในการเชื่อมโยงการดำเนินการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในระดับต่างๆ

6 มีการดำเนินงานเพื่อลดและขจัดแรงจูงใจที่มีผลร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมแรงจูงใจทางบวกที่สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ภาคส่วน


แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
1.2.1.1 พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกในการประสานการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในระดับต่างๆ 1. ส่งเสริมการจัดตั้งหรือพัฒนากลไกคณะกรรมการเพื่อบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ชุ่มน้ำในระดับจังหวัด
2. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกการประสานและเชื่อมโยงการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างภาคส่วน และในระดับต่างๆ
1.2.1.2 เสริมสร้างประสิทธิภาพและสมรรถนะในการบังคับใช้กฎหมาย ข้อบังคับ มาตรการ และกลไกที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู คุ้มครอง และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. ศึกษาและทบทวนกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ในภาคส่วนและระดับต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
2. จัดทำกฎหมายลำดับรองและเสริมสร้างสมรรถนะในการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558
1.2.1.3 ส่งเสริมและสร้างมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางในการนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการจัดทำนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ 1. การศึกษาวิจัยและการพัฒนาระบบพันธบัตรป่าไม้หรือพันธบัตรทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามหลักการเก็บค่าบริการเชิงนิเวศ (Payment for Ecosystem Service)
2. จัดทำแนวทางในการนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
3. ศึกษาวิเคราะห์และทบทวนนโยบายและมาตรการในระดับต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการสร้างแรงจูงใจทางบวก และลดแรงจูงใจทางลบต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ผลักดันการดำเนินงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. พัฒนาเครื่องมือและศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
1.2.1.4 พัฒนากลไกทางการเงินและกลยุทธ์ในการระดมทุน เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ 1. ส่งเสริมและร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานให้ทุนระดับนานาชาติ
2. จัดทำกลไกทางการเงินและกลยุทธ์การระดมทุนเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
3. การสนับสนุนทุน/งบประมาณในการศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยด้านอนุกรมวิธาน รวมถึงการสนับสนุนการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรชีวภาพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ
1.2.1.5 พัฒนากลไกในการเชื่อมโยงการดำเนินงานตามอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 1. ศึกษา กำหนดแนวทาง กลไก และระบุประเด็นสำคัญในการเชื่อมโยงการดำเนินงานตามอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
1.2.1.6 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ภูมิภาค อนุภูมิภาค และระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในทุกระดับ 1. สร้างพันธมิตรและความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
2. สนับสนุนการมีส่วนร่วม/การดำเนินงานภายใต้ความริเริ่มของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
3. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศหรือภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
1.2.1.7 เสริมสร้างสมรรถนะของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการอนุวัตการตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง 1. เสริมสร้างสมรรถนะภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่ออนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานที่ดำเนินการด้านความตกลงและองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
2. สนับสนุนผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสมัชชาภาคี คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษาภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และความตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. จัดประชุมเตรียมความพร้อมคณะผู้แทนไทยเพื่อกำหนดท่าที/ความเห็นของประเทศไทย สำหรับเข้าร่วมการประชุมภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และความ ตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
4. จัดการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมประชุม จัดทำกรอบท่าที และการเจรจาในการประชุมภายใต้กรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
1.2.2.1 สอดแทรกประเด็นและการตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ชุ่มน้ำเข้าสู่นโยบายและแผนระดับชาติ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคเอกชน องค์กรทางธุรกิจ เป็นต้น 1. บูรณาการต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศในภาคการผลิตและระบบบัญชีประชาชาติ
2. ผลักดันเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ เข้าสู่นโยบาย/แผน และมาตรการทั้งในระดับประเทศ จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน รวมถึง ในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และพลังงาน
3. บูรณาการประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่นโยบาย แผน และการดำเนินการของภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง
1.2.2.2 สนับสนุนการถ่ายทอดเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศในภาคส่วนและระดับต่างๆ และเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำแผนความหลากหลายทางชีวภาพ ในระดับจังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน 1. เสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในภูมินิเวศของประเทศไทย
2. เสริมสร้างสมรรถนะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนเมือง และชุมชนท้องถิ่น ในการจัดทำแผนระดับท้องถิ่นและชุมชนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
1.2.3.1 จัดตั้งและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. สร้างเครือข่ายอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ป่าครอบครัว)
2. เสริมสร้างเครือข่ายการดำเนินงานอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น
3. จัดตั้งและเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายคุ้มครอง เฝ้าระวังชนิดพันธุ์พืชหายาก พืชที่ถูกคุกคามโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
4. สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พืชรวมถึงเพิ่มสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย
5. จัดตั้งและสร้างสมรรถนะเครือข่ายความร่วมมือการดำเนินงานด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในทุกระดับ
6. สร้างเครือข่ายความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่สากล
7. สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และถิ่นที่อยู่อาศัยในระดับท้องถิ่น
8. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการควบคุมไฟป่า
9. เสริมสร้างสมรรถนะและสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกับชุมชนท้องถิ่นหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรชีวภาพ
10. โครงการชุมชนเข้มแข็ง ป่าชายเลนยั่งยืน
11. สร้างเครือข่ายอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ คุ้งบางกระเจ้า
1.2.3.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาสังคมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. โครงการส่งเสริมการสร้างผืนป่าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
2. หารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาสังคม ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลสัมฤทธิ์และอุปสรรคของการดำเนินงานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานในอนาคต
3. อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วมระหว่างประเทศ/อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วม
4. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการ ตัดไม้ทำลายป่า ส่งเสริมการปลูกป่า ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเส้นทางอนุรักษ์ธรรมชาติ
5. เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาสังคมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
6. สร้างความเข้มแข็งและองค์ความรู้ในการจัดการป่าชุมชนให้แก่ท้องถิ่น
1.2.3.3 สนับสนุนให้ภาคธุรกิจจัดทำแผนธุรกิจและกองทุนที่สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมที่สนับสนุนองค์กรชุมชนหรือท้องถิ่นหรือเครือข่ายภาคประชาชน 1. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนองค์กรเอกชน/ชุมชนท้องถิ่นในการดำเนินการดำรงรักษาพื้นที่ธรรมชาติ
2. จัดทำคู่มือ/แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับดำเนินกิจกรรมของทุกภาคธุรกิจในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงอบรมการดำเนินงานและใช้คู่มือ